ann-kamolwan
วันพฤหัสบดีที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
อาหารไทย
อาหารไทย เป็นอาหารประจำของชนชาติไทย
ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต
จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ
ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย
ขณะที่อาหารพื้นบ้าน หมายถึง อาหารที่นิยมรับประทานกันเฉพาะท้องถิ่น
ซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นได้ง่าย
โดยอาศัยพืชผักหรือเครื่องประกอบอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น
มีการสืบทอดวิธีปรุงและการรับประทานต่อๆ กันมาจุดกำเนิดอาหารไทย
อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาของ อาจารย์กอบแก้ว นาจพินิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เรื่องความเป็นมาของอาหารไทยยุคต่างๆ สรุปได้ดังนี้
สมัยสุโขทัย
อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึก และวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกับกับข้าว ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง การปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า “แกง” ใน ไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตงและน้ำเต้า ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้ง ส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวานสมัยอยุธยา
สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทย ได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตกและตะวันออก จากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศ พบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่าย ยังคงมีปลาเป็นหลัก มีต้ม แกง และคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าวและกะทิ มากกว่าไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มากขึ้น คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้ง หรือทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่นน้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหาร ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศ เช่น แกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ ที่คาดว่านำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา หลักฐานจากการบันทึกของบาทหลวงชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติ ต่าง ๆ เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ญี่ปุ่น โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปนเปอร์เซีย และฝรั่งเศส สำหรับอิทธิพลของอาหารจีนนั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้นในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยา ตอนปลายที่ไทยตัดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารไทยในสมัยอยุธยา ได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆ และจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วนใหญ่แพร่หลาย อยู่ในราชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชน และกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไป ในที่สุด
สมัยธนบุรี
จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ 2 ของไทย ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ พบความต่อเนื่องของวัฒนธรรมอาหารไทยจากกรุงสุโขทัยมาถึงสมัยอยุธยา และสมัยกรุงธนบุรี และยังเชื่อว่าเส้นทางอาหารไทยคงจะเชื่อมจากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตน โกสินทร์ โดยผ่านทางหน้าที่ราชการและสังคมเครือญาติ และอาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีน่าจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา แต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือมีอาหารประจำชาติจีน
สมัยรัตนโกสินทร์
การ ศึกษาความเป็นมาของอาหารไทยในยุครัตนโกสินทร์นี้ได้จำแนกตามยุคสมัยที่นัก ประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้ คือ ยุคที่ 1 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และยุคที่ 2 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ดังนี้
สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2394)
อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยธนบุรี แต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอีก 1 ประเภท คือ นอกจากมีอาหารคาว อาหารหวานแล้วยังมีอาหารว่างเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้อาหารไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอาหารของประเทศจีนมากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนเป็นอาหารไทย ในที่สุด จากจดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ที่กล่าวถึงเครื่องตั้งสำรับคาวหวานของพระสงฆ์ ในงานสมโภชน์ พระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ได้แสดงให้เห็นว่ารายการอาหารนอกจากจะมีอาหารไทย เช่น ผัก น้ำพริก ปลาแห้ง หน่อไม้ผัด แล้วยังมีอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศแบบอิสลาม และมีอาหารจีนโดยสังเกตจากการใช้หมูเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากหมูเป็นอาหารที่คนไทยไม่นิยม แต่คนจีนนิยม
บท พระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงกล่าวถึงอาหารคาวและอาหารหวาน หลายชนิด ซึ่งได้สะท้อนภาพของอาหารไทยในราชสำนักที่ชัดเจนที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะของอาหารไทยในราชสำนักที่มีการปรุงกลิ่น และรสอย่างประณีต และให้ความสำคัญของรสชาติอาหารมากเป็นพิเศษ และถือว่าเป็นยุคสมัยที่มีศิลปะการประกอบอาหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุด ทั้งรส กลิ่น สี และการตกแต่งให้สวยงามรวมทั้งมีการพัฒนาอาหารนานาชาติให้เป็นอาหารไทย
จาก บทพระราชนิพนธ์ทำให้ได้รายละเอียดที่เกี่ยวกับการแบ่งประเภทของอาหารคาวหรือ กับข้าวและอาหารว่าง ส่วนทีเป็นอาหารคาวได้แก่ แกงชนิดต่างๆ เครื่องจิ้ม ยำต่างๆ สำหรับอาหารว่างส่วนใหญ่เป็นอาหารว่างคาว ได้แก่ หมูแนม ล่าเตียง หรุ่ม รังนก ส่วนอาหารหวานส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ทำด้วยแป้งและไข่เป็นส่วนใหญ่ มีขนมที่มีลักษณะอบกรอบ เช่น ขนมผิง ขนมลำเจียก และมีขนมที่มีน้ำหวานและกะทิเจืออยู่ด้วย ได้แก่ ซ่าหริ่ม บัวลอย เป็นต้น
นอก จากนี้ วรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในยุคนั้นอย่างมากรวมทั้ง เรื่องอาหารการกินของชาวบ้าน พบว่ามีความนิยมขนมจีนน้ำยา และมีการกินข้าวเป็นอาหารหลัก ร่วมกับกับข้าวประเภทต่างๆ ได้แก่ แกง ต้ม ยำ และคั่ว อาหารมี ความหลากหลายมากขึ้นทั้งชนิดของอาหารคาว และอาหารหวาน
สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2394 - ปัจจุบัน)
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมาก และมีการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทย ดังนั้น ตำรับอาหารการกินของไทยเริ่มมีการบันทึกมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นในบทพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน จดหมายเหตุ เสด็จประพาสต้น เป็นต้น และยังมีบันทึกต่างๆ โดยผ่านการบอกเล่าสืบทอดทางเครือญาติ และบันทึกที่เป็นทางการอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะของอาหารไทย ที่มีความหลากหลายทั้งที่เป็น กับข้าวอาหารจานเดียว อาหารว่าง อาหารหวาน และอาหารนานาชาติ ทั้งที่เป็นวิธีปรุงของราชสำนัก และวิธีปรุงแบบชาวบ้านที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าอาหารไทยบางชนิดในปัจจุบันได้มีวิธีการปรุงหรือส่วน ประกอบของอาหารผิดเพี้ยนไปจากของดั้งเดิม จึงทำให้รสชาติของอาหารไม่ใช่ตำรับดั้งเดิม และขาดความประณีตที่น่าจะถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของอาหาร ไทย
อาหารไทยภาคต่างๆ อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ
ภาคเหนือรวม 17 จังหวัดประกอบด้วยภูมินิเวศน์ที่หลากหลายพร้อมด้วยชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ราบลุ่ม ที่ดอน และที่ภูเขาสูงในการดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยพื้นราบซึ่งเป็นชาติพันธุ์ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ ที่พื้นที่ลุ่มบริเวณแม่น้ำสายใหญ่ เช่น ปิง วัง ยม น่าน ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน และ อิง ลาว ของลุ่มน้ำโขง มีวิถีชีวิตผูกพันกับวัฒนธรรมการปลูกข้าวโดยชาวไทยพื้นราบภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน) มีวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก
อาหารของคนเหนือจะมีความงดงาม เพราะด้วยนิสัยคนเหนือจะมีกริยาที่แช่มช้อย จึงส่งผลต่ออาหาร โดยมากมักจะเป็นผัก
อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีวิถีชีวิตที่ผูกติดกับทรัพยากรธรรมชาติที่ แตกต่างหลากหลาย ทั้งในเขตที่ราบ ในแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร อาศัยลำน้ำสำคัญ เช่น ชี มูล สงครามโขง เป็นต้น และชุมชนที่อาศัยในเขตภูเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทือกเขาภูพานและเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งความแตกต่างของทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ระบบอาหารและรูปแบบการจัดการอาหารของชุมชนแตกต่างกันไปด้วย แต่เดิมในช่วงที่ทรัพยากรธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์ อาหารจากธรรมชาติมีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านจะหาอาหารจากแหล่งอาหารธรรมชาติเท่าที่จำเป็นที่จะบริโภคในแต่ละวัน เท่านั้น เช่น การหาปลาจากแม่น้ำ ไม่จำเป็นต้องจับปลามาขังทรมานไว้ และหากวันใดจับปลาได้มากก็แปรรูปเป็นปลาร้าหรือปลาแห้งไว้บริโภคได้นาน ส่งผลให้ชาวบ้านพึ่งพาอาหารจากตลาดน้อยมาก ชาวบ้านจะ “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” สวนหลังบ้านมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นแหล่งอาหารประจำครัวเรือน ชาวบ้านมีฐานคิดสำคัญเกี่ยวกับการผลิตอาหาร คือ ผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภค มีเหลือแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านและทำบุญ
อาหารอีสานจะเน้นไปทางรสชาติที่เผ็ดร้อน
อาหารภาคกลาง
ลักษณะอาหารพื้นบ้านภาคกลางมีที่มาต่างกันดังนี้
- ได้ รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จะมาจากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีนหรือขนมเบื้องไทย ดัดแปลงมาจาก ขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภททองหยิบ ทองหยอดรับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก เป็นต้น
- เป็นอาหารที่มักมีการประดิษฐ์ โดยเฉพาะอาหารจากในวังที่มีการคิดสร้างสรรค์อาหารให้เลิศรส วิจิตรบรรจง เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม ลูกชุบ กระเช้าสีดา ทองหยิบ หรืออาหารประเภทข้าวแช่ ผัก ผลไม้แกะสลัก
- เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ ต้องแนมด้วยหมูหวานแกงกะทิ แนมด้วยปลาเค็ม สะเดาน้ำปลาหวานก็ต้องคู่ กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับน้ำพริกมะม่วง หรือไข่เค็มที่มักจะรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสดหรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแนมอีกหลายชนิด เช่น ผักดอง ขิงดอง หอมแดงดอง เป็นต้น
- เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ค้างคาวเผือก ปั้นขลิบนึ่ง ไส้กรอกปลาแนม ข้าวตังหน้าตั้ง
อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาของ อาจารย์กอบแก้ว นาจพินิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เรื่องความเป็นมาของอาหารไทยยุคต่างๆ สรุปได้ดังนี้
สมัยสุโขทัย
อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึก และวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกับกับข้าว ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง การปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า “แกง” ใน ไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตงและน้ำเต้า ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้ง ส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวานสมัยอยุธยา
สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทย ได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตกและตะวันออก จากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศ พบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่าย ยังคงมีปลาเป็นหลัก มีต้ม แกง และคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าวและกะทิ มากกว่าไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มากขึ้น คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้ง หรือทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่นน้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหาร ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศ เช่น แกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ ที่คาดว่านำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา หลักฐานจากการบันทึกของบาทหลวงชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติ ต่าง ๆ เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ญี่ปุ่น โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปนเปอร์เซีย และฝรั่งเศส สำหรับอิทธิพลของอาหารจีนนั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้นในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยา ตอนปลายที่ไทยตัดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารไทยในสมัยอยุธยา ได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆ และจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วนใหญ่แพร่หลาย อยู่ในราชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชน และกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไป ในที่สุด
สมัยธนบุรี
จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ 2 ของไทย ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ พบความต่อเนื่องของวัฒนธรรมอาหารไทยจากกรุงสุโขทัยมาถึงสมัยอยุธยา และสมัยกรุงธนบุรี และยังเชื่อว่าเส้นทางอาหารไทยคงจะเชื่อมจากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตน โกสินทร์ โดยผ่านทางหน้าที่ราชการและสังคมเครือญาติ และอาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีน่าจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา แต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือมีอาหารประจำชาติจีน
สมัยรัตนโกสินทร์
การ ศึกษาความเป็นมาของอาหารไทยในยุครัตนโกสินทร์นี้ได้จำแนกตามยุคสมัยที่นัก ประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้ คือ ยุคที่ 1 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และยุคที่ 2 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน ดังนี้
สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2394)
อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยธนบุรี แต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอีก 1 ประเภท คือ นอกจากมีอาหารคาว อาหารหวานแล้วยังมีอาหารว่างเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้อาหารไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอาหารของประเทศจีนมากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนเป็นอาหารไทย ในที่สุด จากจดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ที่กล่าวถึงเครื่องตั้งสำรับคาวหวานของพระสงฆ์ ในงานสมโภชน์ พระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ได้แสดงให้เห็นว่ารายการอาหารนอกจากจะมีอาหารไทย เช่น ผัก น้ำพริก ปลาแห้ง หน่อไม้ผัด แล้วยังมีอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศแบบอิสลาม และมีอาหารจีนโดยสังเกตจากการใช้หมูเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากหมูเป็นอาหารที่คนไทยไม่นิยม แต่คนจีนนิยม
บท พระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงกล่าวถึงอาหารคาวและอาหารหวาน หลายชนิด ซึ่งได้สะท้อนภาพของอาหารไทยในราชสำนักที่ชัดเจนที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะของอาหารไทยในราชสำนักที่มีการปรุงกลิ่น และรสอย่างประณีต และให้ความสำคัญของรสชาติอาหารมากเป็นพิเศษ และถือว่าเป็นยุคสมัยที่มีศิลปะการประกอบอาหารที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุด ทั้งรส กลิ่น สี และการตกแต่งให้สวยงามรวมทั้งมีการพัฒนาอาหารนานาชาติให้เป็นอาหารไทย
จาก บทพระราชนิพนธ์ทำให้ได้รายละเอียดที่เกี่ยวกับการแบ่งประเภทของอาหารคาวหรือ กับข้าวและอาหารว่าง ส่วนทีเป็นอาหารคาวได้แก่ แกงชนิดต่างๆ เครื่องจิ้ม ยำต่างๆ สำหรับอาหารว่างส่วนใหญ่เป็นอาหารว่างคาว ได้แก่ หมูแนม ล่าเตียง หรุ่ม รังนก ส่วนอาหารหวานส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ทำด้วยแป้งและไข่เป็นส่วนใหญ่ มีขนมที่มีลักษณะอบกรอบ เช่น ขนมผิง ขนมลำเจียก และมีขนมที่มีน้ำหวานและกะทิเจืออยู่ด้วย ได้แก่ ซ่าหริ่ม บัวลอย เป็นต้น
นอก จากนี้ วรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งถือว่าเป็นวรรณคดีที่สะท้อนวิถีชีวิตของคนในยุคนั้นอย่างมากรวมทั้ง เรื่องอาหารการกินของชาวบ้าน พบว่ามีความนิยมขนมจีนน้ำยา และมีการกินข้าวเป็นอาหารหลัก ร่วมกับกับข้าวประเภทต่างๆ ได้แก่ แกง ต้ม ยำ และคั่ว อาหารมี ความหลากหลายมากขึ้นทั้งชนิดของอาหารคาว และอาหารหวาน
สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 2 (พ.ศ. 2394 - ปัจจุบัน)
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมาก และมีการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทย ดังนั้น ตำรับอาหารการกินของไทยเริ่มมีการบันทึกมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นในบทพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน จดหมายเหตุ เสด็จประพาสต้น เป็นต้น และยังมีบันทึกต่างๆ โดยผ่านการบอกเล่าสืบทอดทางเครือญาติ และบันทึกที่เป็นทางการอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะของอาหารไทย ที่มีความหลากหลายทั้งที่เป็น กับข้าวอาหารจานเดียว อาหารว่าง อาหารหวาน และอาหารนานาชาติ ทั้งที่เป็นวิธีปรุงของราชสำนัก และวิธีปรุงแบบชาวบ้านที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าอาหารไทยบางชนิดในปัจจุบันได้มีวิธีการปรุงหรือส่วน ประกอบของอาหารผิดเพี้ยนไปจากของดั้งเดิม จึงทำให้รสชาติของอาหารไม่ใช่ตำรับดั้งเดิม และขาดความประณีตที่น่าจะถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของอาหาร ไทย
อาหารไทยภาคต่างๆ อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ
ภาคเหนือรวม 17 จังหวัดประกอบด้วยภูมินิเวศน์ที่หลากหลายพร้อมด้วยชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ราบลุ่ม ที่ดอน และที่ภูเขาสูงในการดำรงชีพ การตั้งถิ่นฐานของชาวไทยพื้นราบซึ่งเป็นชาติพันธุ์ส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ ที่พื้นที่ลุ่มบริเวณแม่น้ำสายใหญ่ เช่น ปิง วัง ยม น่าน ของลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน และ อิง ลาว ของลุ่มน้ำโขง มีวิถีชีวิตผูกพันกับวัฒนธรรมการปลูกข้าวโดยชาวไทยพื้นราบภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด (เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน) มีวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลัก
อาหารของคนเหนือจะมีความงดงาม เพราะด้วยนิสัยคนเหนือจะมีกริยาที่แช่มช้อย จึงส่งผลต่ออาหาร โดยมากมักจะเป็นผัก
อาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีวิถีชีวิตที่ผูกติดกับทรัพยากรธรรมชาติที่ แตกต่างหลากหลาย ทั้งในเขตที่ราบ ในแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร อาศัยลำน้ำสำคัญ เช่น ชี มูล สงครามโขง เป็นต้น และชุมชนที่อาศัยในเขตภูเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทือกเขาภูพานและเทือกเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งความแตกต่างของทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้ระบบอาหารและรูปแบบการจัดการอาหารของชุมชนแตกต่างกันไปด้วย แต่เดิมในช่วงที่ทรัพยากรธรรมชาติยังอุดมสมบูรณ์ อาหารจากธรรมชาติมีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านจะหาอาหารจากแหล่งอาหารธรรมชาติเท่าที่จำเป็นที่จะบริโภคในแต่ละวัน เท่านั้น เช่น การหาปลาจากแม่น้ำ ไม่จำเป็นต้องจับปลามาขังทรมานไว้ และหากวันใดจับปลาได้มากก็แปรรูปเป็นปลาร้าหรือปลาแห้งไว้บริโภคได้นาน ส่งผลให้ชาวบ้านพึ่งพาอาหารจากตลาดน้อยมาก ชาวบ้านจะ “ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก” สวนหลังบ้านมีบทบาทสำคัญในฐานะเป็นแหล่งอาหารประจำครัวเรือน ชาวบ้านมีฐานคิดสำคัญเกี่ยวกับการผลิตอาหาร คือ ผลิตให้เพียงพอต่อการบริโภค มีเหลือแบ่งปันให้ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้านและทำบุญ
อาหารอีสานจะเน้นไปทางรสชาติที่เผ็ดร้อน
อาหารภาคกลาง
ลักษณะอาหารพื้นบ้านภาคกลางมีที่มาต่างกันดังนี้
- ได้ รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จะมาจากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีนหรือขนมเบื้องไทย ดัดแปลงมาจาก ขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภททองหยิบ ทองหยอดรับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก เป็นต้น
- เป็นอาหารที่มักมีการประดิษฐ์ โดยเฉพาะอาหารจากในวังที่มีการคิดสร้างสรรค์อาหารให้เลิศรส วิจิตรบรรจง เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม ลูกชุบ กระเช้าสีดา ทองหยิบ หรืออาหารประเภทข้าวแช่ ผัก ผลไม้แกะสลัก
- เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ ต้องแนมด้วยหมูหวานแกงกะทิ แนมด้วยปลาเค็ม สะเดาน้ำปลาหวานก็ต้องคู่ กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับน้ำพริกมะม่วง หรือไข่เค็มที่มักจะรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสดหรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแนมอีกหลายชนิด เช่น ผักดอง ขิงดอง หอมแดงดอง เป็นต้น
- เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ค้างคาวเผือก ปั้นขลิบนึ่ง ไส้กรอกปลาแนม ข้าวตังหน้าตั้ง
คติประจําใจ
ไม่มีใครมาลิขิตชีวิตเราได้นอกจากตัวเราเอง
If you can dream it, you can do it = ถ้าคุณฝันได้ คุณก็ทำได้
ไม่มีอะไรยากเกินไป หากเราคิดว่าเราทำได้
อย่าเพิ่งท้อแท้ในสิ่งที่ยังไม่พยายาม และอย่าเพิ่งหมดหวังในสิ่งที่ยังไม่เริ่มต้น
ไม่มีคำว่าสาย ถ้าคิดจะเริ่มต้น
อย่าพูดว่าทำไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ทำ
อย่ากลัวล้มทั้งๆที่ยังไม่เริ่มต้น
การหนีปัญหาเป็นสิ่งที่ดี แต่การเผชิญหน้ากับมันย่อมดีกว่า
อย่ากลัวที่จะก้าวไปช้าๆ จงกลัวที่จะหยุดอยู่กับที่
อุปสรรคคือความแข็งแกร่ง
ปัญหาคือการฝึกฝน
ความผิดพลาดคือการเรียน
เวลาไม่เคยหวนกลับ เราไม่สามารถกลับไปแก้ไขวันวานได้
ทำวันนี้ให้ดีที่สุด (คติคลาสสิกที่สุดและ ^^)
เก็บความผิดพลาดในอดีตมาเป็นบทเรียนสำหรับอนาคต
อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยไร้ประโยชน์ แล้วก็อย่าบอกว่าเวลาไม่เคยพอ
ทำวันนี้ให้มีความสุขก็พอ
อดีตไม่สำคัญ..ปัจจุบันทำให้ดีที่สุด
สุดท้ายยย '' Nobody Perfect '' ไม่มีใครในโลกนี้สมบูรณ์แบบ
ที่มา.http://webboard.yenta4.com/topic/205429
If you can dream it, you can do it = ถ้าคุณฝันได้ คุณก็ทำได้
ไม่มีอะไรยากเกินไป หากเราคิดว่าเราทำได้
อย่าเพิ่งท้อแท้ในสิ่งที่ยังไม่พยายาม และอย่าเพิ่งหมดหวังในสิ่งที่ยังไม่เริ่มต้น
ไม่มีคำว่าสาย ถ้าคิดจะเริ่มต้น
อย่าพูดว่าทำไม่ได้ ถ้ายังไม่ได้ทำ
อย่ากลัวล้มทั้งๆที่ยังไม่เริ่มต้น
การหนีปัญหาเป็นสิ่งที่ดี แต่การเผชิญหน้ากับมันย่อมดีกว่า
อย่ากลัวที่จะก้าวไปช้าๆ จงกลัวที่จะหยุดอยู่กับที่
อุปสรรคคือความแข็งแกร่ง
ปัญหาคือการฝึกฝน
ความผิดพลาดคือการเรียน
เวลาไม่เคยหวนกลับ เราไม่สามารถกลับไปแก้ไขวันวานได้
ทำวันนี้ให้ดีที่สุด (คติคลาสสิกที่สุดและ ^^)
เก็บความผิดพลาดในอดีตมาเป็นบทเรียนสำหรับอนาคต
อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยไร้ประโยชน์ แล้วก็อย่าบอกว่าเวลาไม่เคยพอ
ทำวันนี้ให้มีความสุขก็พอ
อดีตไม่สำคัญ..ปัจจุบันทำให้ดีที่สุด
สุดท้ายยย '' Nobody Perfect '' ไม่มีใครในโลกนี้สมบูรณ์แบบ
ที่มา.http://webboard.yenta4.com/topic/205429
การดูแลสุขภาพตนเอง
การดูแลสุขภาพตนเอง
โดย
ธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้น ในชีวิต
ก็จะพยายามหาทางแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เป็นอันดับแรก เมื่อรู้ว่า
ไม่สามารถแก้ปัญหาได้เอง ก็จะแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่นใน เรื่องความเจ็บป่วย หรือปัญหาสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้น กล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติ และยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะคือ
การดูแลสุขภาพตนเองในสภาวะปกติ
เป็นการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ได้แก่
- การ ดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่น การออกกำลังกาย การสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- การป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเป็นโรค เช่น การไปรับภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรค
การดูแลสุขภาพตนเองเมื่อเจ็บป่วย
ได้แก่ การขอคำแนะนำ แสวงหาวามรู้จากผู้รู้ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการรักษาเบื้องต้นให้หาย จากความเจ็บป่วย ประเมินตนเองได้ว่า เมื่อไรควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย และมีสุขภาพดีดังเดิม
การ ที่ประชาชนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ึความเข้าใจในเรื่อง การดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ยังไม่เจ็บป่วย เพื่อบำรุงรักษาตนเอง ให้สมบูรณ์แข็งแรง รู้จักที่จะป้องกันตัวเอง มิให้เกิดโรค และเมื่อเจ็บป่วยก็รู้วิธีที่จะรักษาตัวเอง เบื้องต้นจนหายเป็นปกติ หรือรู้ว่า เมื่อไรต้องไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ได้แก่ การขอคำแนะนำ แสวงหาวามรู้จากผู้รู้ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการรักษาเบื้องต้นให้หาย จากความเจ็บป่วย ประเมินตนเองได้ว่า เมื่อไรควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย และมีสุขภาพดีดังเดิม
การ ที่ประชาชนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ึความเข้าใจในเรื่อง การดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ยังไม่เจ็บป่วย เพื่อบำรุงรักษาตนเอง ให้สมบูรณ์แข็งแรง รู้จักที่จะป้องกันตัวเอง มิให้เกิดโรค และเมื่อเจ็บป่วยก็รู้วิธีที่จะรักษาตัวเอง เบื้องต้นจนหายเป็นปกติ หรือรู้ว่า เมื่อไรต้องไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ใน เรื่องความเจ็บป่วย หรือปัญหาสุขภาพก็เช่นเดียวกัน ทุกคนต้องการที่จะดูแลตนเอง ให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอ ดังนั้น กล่าวได้ว่า "การดูแลสุขภาพตนเอง เป็นกิจกรรมที่บุคคลแต่ละคนปฏิบัติ และยึดเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เพื่อให้มีสุขภาพดี" อาจแบ่งขอบเขตการดูแลสุขภาพตนเอง เป็น 2 ลักษณะคือ
การดูแลสุขภาพตนเองในสภาวะปกติ
เป็นการดูแลสุขภาพตนเอง และสมาชิกในครอบครัว ให้มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์อยู่เสมอ ได้แก่
- การ ดูแลส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข เช่น การออกกำลังกาย การสร้างสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
- การป้องกันโรค เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเป็นโรค เช่น การไปรับภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ การไปตรวจสุขภาพ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดโรค
ได้แก่ การขอคำแนะนำ แสวงหาวามรู้จากผู้รู้ เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขต่างๆ ในชุมชน บุคลากรสาธารณสุข เพื่อให้ได้แนวทางปฏิบัติ หรือการรักษาเบื้องต้นให้หาย จากความเจ็บป่วย ประเมินตนเองได้ว่า เมื่อไรควรไปพบแพทย์ เพื่อรักษาก่อนที่จะเจ็บป่วยรุนแรง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือบุคลากรสาธารณสุข เพื่อบรรเทาความเจ็บป่วย และมีสุขภาพดีดังเดิม
การ ที่ประชาชนทั่วไปสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้นั้น จำเป็นต้องมีความรู้ ึความเข้าใจในเรื่อง การดูแลสุขภาพ ตั้งแต่ยังไม่เจ็บป่วย เพื่อบำรุงรักษาตนเอง ให้สมบูรณ์แข็งแรง รู้จักที่จะป้องกันตัวเอง มิให้เกิดโรค และเมื่อเจ็บป่วยก็รู้วิธีที่จะรักษาตัวเอง เบื้องต้นจนหายเป็นปกติ หรือรู้ว่า เมื่อไรต้องไปพบแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ผลไม้ลดน้ำหนัก
แอปเปิ้ล...ราชาแห่งผลไม้ลดน้ำหนัก
การจำกัดปริมาณอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องยากสำหรับคุณผู้หญิง เพราะไหนจะต้องทนต่อความหิวจนกว่าจะผอมแต่พอผอมสมใจกลับโดนทักว่าทำไมดูซีด เซียว ไม่สดชื่นอวบอั๋นเหมือนตอนก่อนลดน้ำหนัก
การรับประทานผลไม้จึงเป็นวิธีหนึ่ง ที่ช่วยแก้ปัญหาได้ทั้งการลดน้ำหนักและการมีสุขภาพที่สดใส เพราะผลไม้ประกอบไปด้วยเส้นใยอาหาร (Fiber) ที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องมีน้ำตาลธรรมชาติที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้เร็วและ นำไปใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ผลไม้ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอีกนับไม่ถ้วนช่วยให้ร่างกาย รู้สึกสดชื่น ไม่ทรุดโทรม จึงเหมาะสำหรับสาว ๆที่ต้องการควบคุมน้ำหนักเป็นที่สุด
เมื่อถามคนใกล้ตัวว่า"อยากลดน้ำหนักจะทานผลไม้อะไรดี?" เชื่อว่าคงได้คำตอบกว่าครึ่งเป็นผลไม้รูปร่างอวบอัดที่ชื่อว่า"แอปเปิ้ล"แน่ ๆ เพราะแอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่มีสีสันชวนรับประทาน เนื้อสัมผัสกรอบรสชาติอร่อย กลิ่นหอม มีคุณค่าทางโภชนาการสูง หาทานได้ง่าย ราคาไม่แพงและที่สำคัญคือไม่ทำให้อ้วน แอปเปิ้ลจึงได้ชื่อว่าเป็น "ราชาแห่งผลไม้ลดน้ำหนัก"
กินแอปเปิ้ลวันละ 1 ผล ร่างกายแข็งแรง
แอปเปิ้ลให้สารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและวิตามินซีเป็นหลักซึ่งปริมาณ วิตามินซีจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวและความสด เนื้อแอปเปิ้ล 100 กรัมมีวิตามินซีประมาณ 6 มิลลิกรัม และให้พลังงานราว 59 แคลอรีไม่ทำให้อ้วน แต่แอปเปิ้ลก็มีสารอาหารที่มีประโยชน์ชนิดอื่นทดแทน แบบที่เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าผลไม้อื่นแต่อย่างใด
พลังงานที่ได้จากแอปเปิ้ลมีลักษณะพิเศษที่น่าสนใจคือแอปเปิ้ลจะให้พลังงาน ค่อนข้างต่ำและค่อยเป็นค่อยไปเพราะแหล่งพลังงานของแอปเปิ้ลคือน้ำตาลฟรักโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่เปลี่ยนรูปเป็นพลังงานอย่างช้า ๆ ในร่างกายช่วยให้ไม่รู้สึกหิวอิ่มนาน ผลที่ตามมาคือ ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะค่อย ๆเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูงเร็วเหมือนกินขนมหวานจึงเหมาะกับคนไข้เบาหวานด้วยเช่นกัน
เปลือกและเนื้อของแอปเปิ้ลมีเส้นใยอาหารที่ชื่อว่า"เพคติน"ที่ มีคุณสมบัติพองตัวได้มาก ช่วยเพิ่มกากในทางเดินอาหารทำให้อวัยวะในทางเดินอาหารมีการทำงานเป็นปกติ เพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่ายซึ่งเป็นการช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้และ ยังช่วยจับคอเลสเตอรอลไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายป้องกันโรคคอเลสเตอร อลในเลือดสูง โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง
นอกจากนี้ แอปเปิ้ลยังอุดมไปด้วยวิตามินเกลือแร่และสารอาหารที่มีประโยชน์อีกหลายชนิด ทั้งวิตามินเอ บี 1 บี 2 บี 6 ไบโอติน กรดโฟลิก กรดแพนโทเธอนิค เกลือแร่ คลอไรด์ เหล็ก ทองแดง แมกกานีสแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม ซิลิคอน และยังมีกรดอินทรีย์ 2 ชนิดคือ กรดมาลิคและกรดทาร์ทาริก ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีนและไขมันสารอาหารเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน โดยเฉพาะวิตามินซีและสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในแอปเปิ้ลจะช่วยป้องกันโรคหัวใจในผู้ ที่รับประทานเป็นประจำ
แอปเปิ้ลเขียว หรือแอปเปิ้ลแดง ที่มีประโยชน์มากกว่ากัน
เมื่อวิเคราะห์จากคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ เปรียบเทียบระหว่างแอปเปิ้ลเขียวและแอปเปิ้ลแดง พบว่าไม่มีความแตกต่างกันมากนักแต่สิ่งที่แอปเปิ้ลแดงมีเหนือกว่าเล็กน้อย คือ ปริมาณของสารแอนโทไซยานินซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่ม ฟลาโวนอยด์นั่นเอง
ดื่มน้ำแอปเปิ้ล ก็ได้ประโยชน์เท่ากินทั้งลูก?
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะพบว่าประโยชน์ของแอปเปิ้ลมาจากองค์ประกอบ 3 ตัวด้วยกันคือ จากเส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระที่มีมากบริเวณเปลือกและจากน้ำตาลฟรักโทสที่มีมากในเนื้อ แอปเปิ้ลดังนั้นหากต้องการดื่มน้ำแอปเปิ้ล ควรเลือกวิธีการปั่นทั้งผลโดยไม่ต้องปอกเปลือก เพราะหากใช้วิธีคั้นน้ำจะทำให้ได้เฉพาะน้ำตาลและสารต้านอนุมูลอิสระอีกเล็ก น้อยซึ่งอาจทำให้อ้วนได้มากกว่าเดิมและไม่ได้รับประโยชน์ทั้งหมดจากแอปเปิ้ล อย่างครบถ้วน
กินแอปเปิ้ลอย่างไรให้ได้ประโยชน์
ในแง่โภชนาการแอปเปิ้ลไม่ใช่ผลไม้ที่มีวิตามินหรือแร่ธาตุในปริมาณสูงมากนัก เมื่อเทียบกับกล้วย ฝรั่งหรือส้ม แต่หากทานแอปเปิ้ลวันละ 2-4 ลูกโดยไม่ปอกเปลือกก็จะได้รับเส้นใยอาหารและสารอาหารต่าง ๆ ในปริมาณที่พอเหมาะ
ในปัจจุบันมีการกล่าวอ้างสรรพคุณของแอปเปิ้ลมากมาย เช่น บำรุงหัวใจลดคอเลสเตอรอล ลดความดัน ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดความอยากอาหารช่วยกระตุ้นการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่และฆ่าเชื้อไวรัสซึ่งหากต้องการจะรับประทานแอปเปิ้ลสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมน้ำหนักแล้ว ก็ควรต้องทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และผักผลไม้อื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อป้องกันการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
ที่มา.http://women.thaiza.com/detail_164183.html
การจำกัดปริมาณอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักนั้นเป็นเรื่องยากสำหรับคุณผู้หญิง เพราะไหนจะต้องทนต่อความหิวจนกว่าจะผอมแต่พอผอมสมใจกลับโดนทักว่าทำไมดูซีด เซียว ไม่สดชื่นอวบอั๋นเหมือนตอนก่อนลดน้ำหนัก
การรับประทานผลไม้จึงเป็นวิธีหนึ่ง ที่ช่วยแก้ปัญหาได้ทั้งการลดน้ำหนักและการมีสุขภาพที่สดใส เพราะผลไม้ประกอบไปด้วยเส้นใยอาหาร (Fiber) ที่ช่วยให้รู้สึกอิ่มท้องมีน้ำตาลธรรมชาติที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้เร็วและ นำไปใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ผลไม้ยังอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอีกนับไม่ถ้วนช่วยให้ร่างกาย รู้สึกสดชื่น ไม่ทรุดโทรม จึงเหมาะสำหรับสาว ๆที่ต้องการควบคุมน้ำหนักเป็นที่สุด
เมื่อถามคนใกล้ตัวว่า"อยากลดน้ำหนักจะทานผลไม้อะไรดี?" เชื่อว่าคงได้คำตอบกว่าครึ่งเป็นผลไม้รูปร่างอวบอัดที่ชื่อว่า"แอปเปิ้ล"แน่ ๆ เพราะแอปเปิ้ลเป็นผลไม้ที่มีสีสันชวนรับประทาน เนื้อสัมผัสกรอบรสชาติอร่อย กลิ่นหอม มีคุณค่าทางโภชนาการสูง หาทานได้ง่าย ราคาไม่แพงและที่สำคัญคือไม่ทำให้อ้วน แอปเปิ้ลจึงได้ชื่อว่าเป็น "ราชาแห่งผลไม้ลดน้ำหนัก"
กินแอปเปิ้ลวันละ 1 ผล ร่างกายแข็งแรง
แอปเปิ้ลให้สารอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและวิตามินซีเป็นหลักซึ่งปริมาณ วิตามินซีจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวและความสด เนื้อแอปเปิ้ล 100 กรัมมีวิตามินซีประมาณ 6 มิลลิกรัม และให้พลังงานราว 59 แคลอรีไม่ทำให้อ้วน แต่แอปเปิ้ลก็มีสารอาหารที่มีประโยชน์ชนิดอื่นทดแทน แบบที่เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าผลไม้อื่นแต่อย่างใด
พลังงานที่ได้จากแอปเปิ้ลมีลักษณะพิเศษที่น่าสนใจคือแอปเปิ้ลจะให้พลังงาน ค่อนข้างต่ำและค่อยเป็นค่อยไปเพราะแหล่งพลังงานของแอปเปิ้ลคือน้ำตาลฟรักโทส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่เปลี่ยนรูปเป็นพลังงานอย่างช้า ๆ ในร่างกายช่วยให้ไม่รู้สึกหิวอิ่มนาน ผลที่ตามมาคือ ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดจะค่อย ๆเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่สูงเร็วเหมือนกินขนมหวานจึงเหมาะกับคนไข้เบาหวานด้วยเช่นกัน
เปลือกและเนื้อของแอปเปิ้ลมีเส้นใยอาหารที่ชื่อว่า"เพคติน"ที่ มีคุณสมบัติพองตัวได้มาก ช่วยเพิ่มกากในทางเดินอาหารทำให้อวัยวะในทางเดินอาหารมีการทำงานเป็นปกติ เพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่ายซึ่งเป็นการช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้และ ยังช่วยจับคอเลสเตอรอลไม่ให้ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายป้องกันโรคคอเลสเตอร อลในเลือดสูง โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง
นอกจากนี้ แอปเปิ้ลยังอุดมไปด้วยวิตามินเกลือแร่และสารอาหารที่มีประโยชน์อีกหลายชนิด ทั้งวิตามินเอ บี 1 บี 2 บี 6 ไบโอติน กรดโฟลิก กรดแพนโทเธอนิค เกลือแร่ คลอไรด์ เหล็ก ทองแดง แมกกานีสแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม โซเดียม ซิลิคอน และยังมีกรดอินทรีย์ 2 ชนิดคือ กรดมาลิคและกรดทาร์ทาริก ซึ่งช่วยในการย่อยอาหารจำพวกโปรตีนและไขมันสารอาหารเหล่านี้ มีประโยชน์ต่อสุขภาพในหลายด้าน โดยเฉพาะวิตามินซีและสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบมากในแอปเปิ้ลจะช่วยป้องกันโรคหัวใจในผู้ ที่รับประทานเป็นประจำ
แอปเปิ้ลเขียว หรือแอปเปิ้ลแดง ที่มีประโยชน์มากกว่ากัน
เมื่อวิเคราะห์จากคุณค่าสารอาหารต่าง ๆ เปรียบเทียบระหว่างแอปเปิ้ลเขียวและแอปเปิ้ลแดง พบว่าไม่มีความแตกต่างกันมากนักแต่สิ่งที่แอปเปิ้ลแดงมีเหนือกว่าเล็กน้อย คือ ปริมาณของสารแอนโทไซยานินซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่ม ฟลาโวนอยด์นั่นเอง
ดื่มน้ำแอปเปิ้ล ก็ได้ประโยชน์เท่ากินทั้งลูก?
จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะพบว่าประโยชน์ของแอปเปิ้ลมาจากองค์ประกอบ 3 ตัวด้วยกันคือ จากเส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระที่มีมากบริเวณเปลือกและจากน้ำตาลฟรักโทสที่มีมากในเนื้อ แอปเปิ้ลดังนั้นหากต้องการดื่มน้ำแอปเปิ้ล ควรเลือกวิธีการปั่นทั้งผลโดยไม่ต้องปอกเปลือก เพราะหากใช้วิธีคั้นน้ำจะทำให้ได้เฉพาะน้ำตาลและสารต้านอนุมูลอิสระอีกเล็ก น้อยซึ่งอาจทำให้อ้วนได้มากกว่าเดิมและไม่ได้รับประโยชน์ทั้งหมดจากแอปเปิ้ล อย่างครบถ้วน
กินแอปเปิ้ลอย่างไรให้ได้ประโยชน์
ในแง่โภชนาการแอปเปิ้ลไม่ใช่ผลไม้ที่มีวิตามินหรือแร่ธาตุในปริมาณสูงมากนัก เมื่อเทียบกับกล้วย ฝรั่งหรือส้ม แต่หากทานแอปเปิ้ลวันละ 2-4 ลูกโดยไม่ปอกเปลือกก็จะได้รับเส้นใยอาหารและสารอาหารต่าง ๆ ในปริมาณที่พอเหมาะ
ในปัจจุบันมีการกล่าวอ้างสรรพคุณของแอปเปิ้ลมากมาย เช่น บำรุงหัวใจลดคอเลสเตอรอล ลดความดัน ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด ลดความอยากอาหารช่วยกระตุ้นการทำงานของสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่และฆ่าเชื้อไวรัสซึ่งหากต้องการจะรับประทานแอปเปิ้ลสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมน้ำหนักแล้ว ก็ควรต้องทานเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และผักผลไม้อื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อป้องกันการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
ที่มา.http://women.thaiza.com/detail_164183.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)